Our Breitling replica watches, produced in the same quality as the originals,are in stock at breitlingreplica.me with all models at affordable prices.

boomwatches.co.uk is the trusted distributor of replica watches in the UK!

Our webside provides high-quality rolex replica watches.You can choose more fake Rolex watches here.

แล้งหนัก! หมู่บ้านชายแดนขาดแคลนน้ำ ประปาหมู่บ้าน-น้ำบาดาลแห้งขอด ต้องซื้อกิน-ใช้รายวัน

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 5 ของ ต.ห้วยจันทร์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค อย่างหนัก จนต้องซื้อน้ำกิน น้ำใช้ วันละ 100-200 บาท เพื่อประทังชีวิต ให้ผ่านพ้นวิกฤติในช่วงฤดูแล้งนี้ไปให้ได้ รวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรก็เริ่มประสบปัญหาหนักเช่นกัน

นายจักรกฤษ โพธิสาร อายุ 31 ปี เจ้าของสวนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ปีนี้ตนปลูกทุเรียนอยู่ 15 ไร่ แต่ตอนนี้ประสบปัญหาอากาศร้อน ต้นทุนเรียนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก น้ำที่รดต้นทุเรียนไม่เพียงพอ ต้องลงทุนใช้รถบรรทุกขนถังน้ำลงมาสูบน้ำในคลองส่งน้ำขึ้นไปรดต้นทุเรียน ซึ่งวันหนึ่งตนต้องใช้น้ำในการรดต้นทุเรียนถึงวันละ 5 หมื่นลิตร ตนต้องสูบน้ำขนขึ้นไปรดต้นทุเรียนถึงวันละ 5-6 รอบต่อวัน ซึ่งถ้าไม่ทำแบบนี้ต้นทุเรียนที่ตนปลูกไว้ 15 ไร่ คงต้องตายหมดสวนแน่นอน

ขณะที่ ชาวบ้านอีกรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ในพื้นที่แล้งมาก เจาะน้ำบาดาลลงไปก็ไม่มีน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ก็เกือบไม่มีน้ำแล้ว ทุกวันนี้ตนต้องควักกระเป๋าตัวเองซื้อน้ำใช้ถึงวันละ 100 บาท ซึ่งจะได้น้ำประมาณ 1,000 ลิตร เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนในเบื้องต้น โดยปัญหาจริงๆที่ขาดแคลนน้ำคือ ในพื้นที่ไม่มีที่กักเก็บน้ำ ถ้าในพื้นที่มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในช่วงหน้าฝนก็คงจะดี ชาวบ้านคงไม่เดือดร้อนขาดแคลนน้ำถึงขนาดนี้

ด้าน นายสมบูรณ์ ประจิม นายก อบต.ห้วยจันทร์ กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ตำบลห้วยจันทร์ ที่หนักๆจะมีอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 4 และหมู่ 5 ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่แล้งมากกว่าทุกปี ชาวบ้านส่วนใหญ่จะขาดแคลนน้ำใช้ในชีวิตประจำวัน ขาดน้ำใช้ในพื้นที่การเกษตร เนื่องจากไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง เบื้องต้นทาง อบต.ห้วยจันทร์ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการเร่งวางแผนแก้ปัญหาภัยทั้งแบบระยะสั้น และระยะยาว โดยแบบระยะสั้น ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่นำรถน้ำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านใน 2 หมู่บ้าน ที่ประสบปัญหา วันละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังต้องนำน้ำไปส่งให้ตามวัดในพื้นที่ขาดแคลนอีก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และส่งน้ำบริการให้กับนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวน้ำตกห้วยจันทร์ ได้ใช้ในทุกวันศุกร์อีก 2 รอบ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนให้กับชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง

ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น ทาง อบต.ห้วยจันทร์ ร่วมกับทาง ชลประทาน และภาคส่วนต่าง กำลังช่วยกันผลักดันโครงสร้างเขื่อนห้วยจันทร์ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผน 2-3 ปีข้างหน้านี้ ก็น่าจะสร้างแล้วเสร็จ แล้วพี่น้องชาวบ้านในพื้นตำบลห้วยจันทร์ และตำบลใกล้เคียง ก็จะได้มีพื้นที่กักเก็บน้ำ และจะได้มีน้ำใช้ไปตลอดทั้งปี ไม่ขาดแคลนเหมือนทุกวันนี้.

ทีมข่าว จ.ศรีสะเกษ // รายงาน

ทิ้งคำตอบไว้

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.