ขอนแก่น – กสศ. เปิดเวทีระดมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตความเสมอภาคทางการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน

กสศ. เปิดเวทีระดมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตความเสมอภาคทางการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่ จ.ขอนแก่น

วันที่ 9 พ.ค. 2566 ที่ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นประธานเปิดเวทีระดมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตความเสมอภาคทางการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยนายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการบริหาร กสศ. ภาคีเครือข่ายร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า อ.ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา คณะผู้บริหาร กสศ. นายรัชพร วรรณคำ ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น และทีมวิทยากรกระบวนการ ร่วมกิจกรรม โดยมี นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้การต้อนรับภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคีทุกภาคส่วน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่นเป็นเวทีแรก และจะมีการจัดอีก 3 เวทีให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค ต่อไป

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ดำเนินงานเป็นกลไกแบบใหม่ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดย กสศ. ได้มองเป้าหมายที่การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่มผู้รับประโยชน์ เช่น เด็ก เยาวชน ครู โรงเรียน และชุมชนและการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบโดยมีการดำเนินงานในรูปแบบการเหนี่ยวนำความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาอย่างยั่งยืน

“การดำเนินงาน 5 ปีที่ผ่านมา กสศ. ได้ช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือต้อยโอกาส ราว 1.7 ล้านคนต่อปี รวมทั้งมีการทำงานร่วมกับคุณครูทั่วประเทศมากกว่า 400,000 คน และสถานศึกษามากกว่า 30,000 แห่งใน 6 ต้นสังกัดทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย โดยในช่วงปี 2563-2564 กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งระดับประเทศไปจนถึงระดับครัวเรือน ซ้ำเติมความยากลำบากของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทำให้เด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยได้พยายามปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการของ กสศ. เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการตอบสนองต่อความเดือดร้อนจำเป็นของกลุ่มผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้ทันท่วงที”

พร้อมกันนี้ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. และคณะผู้บริหาร กสศ. ได้ลงพื้นที่โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง หลักสูตรทุนผู้ช่วยทันตแพทย์ 1 ปี เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนนักศึกษาทุนหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ (รุ่นที่2 และจบการศึกษาแล้ว) พร้อมเยี่ยมชมการเรียนภาคปฏิบัติ ณ คลินิกทันตกรรมรวม 2 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขณะที่ นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เปิดเผยว่าแนวคิดต่อการช่วยเหลือเด็กในภาวะวิกฤตก็เป็นการต่อยอดที่เราเจอสถานการณ์โควิด เรามีเด็กที่เป็นเด็กตกหล่นอยู่จำนวนมากทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยได้พยายามนำร่อง 4 จังหวัดก่อน ซึ่งเป็นการทำงานแบบต่อยอดจังหวัดที่มีการทำงานในพื้นที่ อย่างเช่นจังหวัดขอนแก่นโดยศึกษาธิการจังหวัดเป็นหลักอยู่ในพื้นที่ ซึ่งได้พยายามสร้างกลไกรกลางที่เป็นการร่วมมือของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันดึงภาคเอกชนเข้ามาด้วย เด็กในภาวะวิกฤตก็อาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานเหล่านี้ที่ทำการแสกนค้นหาว่ามีเด็กคนไหนบ้างที่ต้องการความเร่งด่วนที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งทั้งท้องถิ่นพื้นที่ ค้นหาว่าใครบ้างที่ต้องการความดูแลเป็นพิเศษแล้วส่งความช่วยเหลือไป อาจะเป็นรูปเม็ดเงิน อาจจะเป็นในรูปแบบความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ เข้าไปดูแล ที่อยู่อาศัยเป็นต้น เป็นการทำงานที่จะต้องดึงน้องออกมาจากสถานการณ์ยากลำบากก่อน เพื่อที่จะเป็นการส่งต่อในการดูแลด้านอื่นไป

งานอีกด้านทางทีมงาน กสศ. ของเราทำอยู่ คือ เราพยายามที่จะให้น้องที่อยู่ในสภาวะยากจนได้เรียนต่อ และจบออกมาทำงาน สร้างอาชีพได้โดยเร็ว ซึ่งการทำอาชีพด้านทันตกรรม เป็นผู้ช่วยทันตกรรม ใช้เวลาเรียนเพียงปีเดียวก็สามารถที่จะประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ก็มีการส่งเสริมและตามหาน้องที่สนใจว่าเรามาเรียนทันตกรรมดีไหม ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะทันตกรรม จัดการเรียนการสอนน้อง ๆ กลุ่มนี้ ซึ่งน้องจบออกมาทำหน้าที่ผู้ช่วยทันตกรรมได้ ซึ่งนอกเหนือจากอาชีพนี้แล้ว ทางเราได้พยายามค้นคว้าว่ามีอาชีพอะไรบ้างที่เป็นที่ต้องการของตลาดอาจจะใช้เวลาเรียนไม่นานนัก เพราะน้องกลุ่มนี้ที่ต้องการดูแลด้านเศรษฐกิจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างโอกาสทางรายได้ โดยมีอยู่ 2 อาชีพคือ ผู้ช่วยทันตกรรม ผู้ช่วยทางด้านการสาธารณสุข งานด้านบริบาล โดยการทำงานร่วมกับภาคราชการในจังหวัดขอนแก่น

ที่มา : https://www.esandailyonline.com/

กิจกรรมของ สส.สิงหภณ ดีนาง (ทนายกี้)ช่วงวันที่ 11-14 พ.ย.65

กิจกรรมของ สส.สิงหภณ ดีนาง(ทนายกี้)ช่วงวันที่ 11-14 พ.ย.65
ได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับผู้นำหมู่บ้าน ต.ห้วยม่วง 6 หมู่บ้าน ต.หนองเสาเล้า 4 หมู่บ้านต.ขัว
เรียง 4 หมู่บ้าน

และร่วมงานฌาปนกิจศพ,งานฉลองสมรส และงานโรตารีอำเภอชุมแพ ครับ


โดยนายสิงหภณ ดีนาง 366 หมู่ 4 ต.หนองไผ่ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น 40130

อุดรธานี – ร.13 จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีฯ

มื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2565 พันเอก จักรพงษ์ โพธิ์นาแค ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 ได้จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน เข้าดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2565 ณ วัดโยธานิมิตร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยได้เข้าทำความสะอาด พัฒนาบริเวณเขตสุขาภิบาลตลอดเส้นทางสัญจรไปมาในการเข้า – ออกวัด, รวมถึงพื้นที่บริเวณโดยรอบ และบริเวณพื้นที่องค์หลวงพ่อพระงาม ซึ่งทำให้มีความสะอาดและมีทัศนียภาพที่สวยงามมากยิ่งขึ้น จากการที่กรมทหารราบที่ 13 ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในครั้งนี้ ทำให้พื้นที่โดยรอบมีสภาพภูมิทัศน์ที่สะอาดสวยงามมากขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ดีใจเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณกรมทหารราบที่ 13 ที่ได้จัดกำลังพลจิตอาสาของหน่วย เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือในการพัฒนาวัดฯในครั้งนี้

ข้อมูลภาพข่าว  ร.ต.กฤษฎา มณีใส
#กรมทหารราบที่ 13

ที่มา : https://www.esandailyonline.com/

เลย เปิดงานวันแรกประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนและหน้ากากนานาชาติหรือวันโฮม

เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 1 ก.ค.65 บรรยากาศ เปิดงาน “วันโฮม” ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนและหน้ากากนานาชาติ วันแรกเทศกาลผีตาโขน หรือวันรวม หรือวันโฮม มีนายถาวร เชื้อบุญมี (เจ้าพ่อกวน) ผู้นำจิตวิญญาณ พร้อมด้วยพ่อแสน นางแต่ง มาทำพิธีบวชพราหมณ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเชิญพระอุปคุต จากนั้นแห่จากวัดโพนชัย ไปริมฝั่งแม่น้ำหมันเชิญพระอุปคุต พิธีงมพระอุปคุตจากแม่น้ำหมัน อัญเชิญขึ้นประดิษฐานหออุปคุตวัดโพนชัย พิธีเบิกพระอุปคุต พร้อมยิงปืนทั้ง 4 ทิศ พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม

จนเวลา 10.00 น. ขบวนแห่จากเจ้าพ่อกวน เจ้ามานางเทียม พ่อแสน นางแต่ง และนักท่องเที่ยว ทำพิธีที่ศูนย์วัฒนธรรม บ้านเจ้าพ่อกวน จากนั้นเดินขบวนแห่มายังวัดโพนชัย เพื่อเปิดงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน และหน้ากากนานาชาติวันแรก หรือ วันโฮม งานประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนและหน้ากากนานาชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 65  ส่วนที่พักในเขตอำเภอด่านซ้าย อ.ภูเรือ อ.นาแห้ว นักท่องเที่ยวจับจองจนเต็มหมด

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย

ที่มา : https://www.esandailyonline.com/

สาธารณสุขอุบลฯ จัดกิจกรรม “ปลดล็อคพืชกัญชา กัญชง จากยาเสพติดให้โทษ” กัญชา กัญชง เพื่อสุขภาพ BY BCG MODEL จังหวัดอุบลราชธานี

ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ณ บริเวณลานหน้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่ทุกกลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมประกาศจุดยืน ปลดล็อกพืชกัญชา กัญชงจากยาเสพติดให้โทษ เพื่อสุขภาพ และสร้างเศรษฐกิจ สร้างพลัง การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ให้ใช้กัญชา กัญชง อย่างรู้คุณ รู้โทษ ใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัย เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงสาธารณสุข และถูกต้องตามกฎหมาย

นายสุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ ทำให้กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาเสพติดประเภทที่ 5 ทั้งส่วนของช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก ยกเว้น สารสกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งร่างกฎหมายเฉพาะเรื่องนี้ ( พรบ.กัญชา กัญชง ) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

จนกว่าพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง ฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้ ประชาชนที่จะปลูกกัญชา กัญชง เพื่อใช้ดูแลสุขภาพส่วนบุคคล/ในครัวเรือน รวมทั้งใช้ในเชิงพาณิชย์ ไม่ต้องขออนุญาตปลูก แต่อย. ขอความร่วมมือให้จดแจ้ง ผ่านแอปพลิเคชัน“ปลูกกัญ” สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android หรือเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th ด้วยตนเอง หรือ หากไม่สะดวก จดแจ้งด้วยตนเอง ท่านสามารถรับบริการ ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เจ้าหน้าที่รับจดแจ้งแทน  ทั้งนี้  การสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน“ปลูกกัญ” และเริ่มจดแจ้งได้ตั้งแต่วันนี้ (9 มิ.ย.65) เป็นต้นไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กฎหมายใหม่ โดยแหล่งที่มาของกัญชากัญชง ที่ปลูกต้องมาจาก

1. ผู้ได้รับอนุญาตเดิมร่วมกับหน่วยงานรัฐ

2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ร่วมโครงการกับกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  ซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมาย(ก่อนวันที่ 9 มิ.ย.65) ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานที่ปลูกกัญชาที่ได้รับอนุญาต จำนวน 20 แห่ง กัญชงจำนวน 17 แห่ง

  3. โครงการปลูกกัญชา 1 ล้านต้น (สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 : สวพ.4)

  4. การขออนุญาตนำเข้า (ตามกฎหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมกำกับ ได้แก่ พืชกัญชา    กัญชงควบคุมกำกับโดย พรบ. กักพืช พ.ศ. 2507 และเมล็ดกัญชา กัญชง ถูกควบคุมตาม พรบ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2518)

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมในวันนี้ (9 มิ.ย.65) เป็นมุ่งหวังเพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้เป็นตัวแทนในการแสดงจุดยืนของกระทรวงสาธารณสุข คือ ปลดล็อกกัญชา กัญชงเพื่อสุขภาพ และสร้างเศรษฐกิจ ในเรื่องการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพ ขณะนี้โรงพยาบาล    ทุกแห่งในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วันประชาชนสามารถรับคำปรึกษาได้ ณ โรงพยาบาลใกล้บ้าน และในอนาคตมีแผนขยายเวลาเปิดให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน สำหรับกัญชาเพื่อเศรษฐกิจ (เชิงพาณิชย์) การนำกัญชามาปรุงประกอบอาหาร สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ ของกรมอนามัย ส่วนแปรรูปกัญชา หรือการนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหารเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ อย. หรือกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี  โดยกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ ได้แก่

  1. การรวมพลัง ประกาศจุดยืน ปลดล็อกพืชกัญชา กัญชง จากยาเสพติดให้โทษ เพื่อสุขภาพ และสร้างเศรษฐกิจ

  2. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรดอนชาดพืชปลอดภัยอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตปลูกกัญชาตามกฎหมาย มอบต้นกัญชาแก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งมอบให้ผู้แทนจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ และเพื่อใช้ปลูก ขยายพันธุ์ ในสวนสมุนไพรของโรงพยาบาลต่อไป

  3. เปิดตัวแอปพลิเคชัน“ปลูกกัญ”ซึ่งประชาชนสามารถดาวน์โหลดง่ายๆเพื่อจดแจ้งการปลูกกัญชา     ด้วยตนเอง  และเปิดศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center : OSSC) ซึ่งเป็น        จุดบริการที่เจ้าหน้าที่รับจดแจ้งการปลูกกัญชาแก่ประชาชน กรณีที่ไม่สามารถจดแจ้งด้วยตนเอง ทั้งยังเป็น จุดให้บริการรับจดแจ้ง/ขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทอื่นๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในตอนท้ายว่า ควรใช้กัญชาอย่างระวัง โดยเฉพาะ        การนำไปใช้ในบุคคลกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี คนไข้จิตเวช สตรีมีครรภ์/ให้นมบุตร                ห้ามรับประทาน ที่สำคัญหากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที อย่างไรก็ตาม ขอให้พี่น้องประชาชน     ได้เฝ้าติดตามข้อกฎหมาย ตลอดจนข้อปฏิบัติที่จะประกาศออกมาภายหลัง วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โทร 091-1644324 ในวันและเวลาราชการ หรือ Scan QR code เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อ “ใช้กัญชา กัญชง อย่างรู้คุณ รู้โทษ ใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัย เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงสาธารณสุข และถูกต้องตามกฎหมาย”

กิจกรรมของ ส.ส.สิงหภณ ดีนาง

วันที่ 22-23 พ.ค.65
มีกิจกรรมดังนี้
-งานบวชนายอำพล วิลาลัย บ้านวังหูกวาง ต.หนองไผ่


-ฌาปนกิจอดีตเจ้าอาวาส วัดบ้านเชิญใต้ ต.ภูผาม่าน
-ฌาปนกิจศพพ่อบัวลา ชัยจิตร บ้านโนนศิลา ต.หนองเขียด
-ฌาปนกิจศพนายปรีชา คำพา บ้านนาหนองทุ่ม
-สวดอภิธรรมศพนางบรรเด็จ เคนพรม บ้านโคกสูง ชุมแพ
-สวดอภิธรรมนายวัชรินทร์ มานาดี บ้านโนนสำราญ


-ประชุมหารือการทำแผนงบ ประมาณเกี่ยวงานน้ำ(ภัยแล้ง) ร่วมกับเทศบาลโนนสะอาด,
อบต.หนองเขียด อ.ชุมแพ
-ลงพื้นที่พบปะกับผู้นำชุมชน, ชาวบ้านบ้านหัวหนอง,บ้านศรีมงคล,บ้านนาโพธิ์,บ้าน
หนองตาไก้ 1,2 ในเขตเทศบาลชุมแพ และบ้านหนองจิก บ้านหนองบัว ม.5,11 บ้านมาลา
บ้านแห่ ต.ชุมแพ ครับ


วันที่ 24-27 พ.ค.65 เข้า กทม.ประชุมสภาฯ ครับ

สส.สิงหภณ ดีนาง(ทนายกี้)ได้เข้ารวมประชุม กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และ ประชุม กมธ.กฎหมายการยุติธรรมและ สิทธิมนุษยชน

ในที่ 10,11 พ.ค.65 สส.สิงหภณ ดีนาง(ทนายกี้)ได้เข้ารวมประชุม กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และ ประชุม กมธ.กฎหมายการยุติธรรมและ สิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ณ รัฐสภา กรุงเทพมหานคร

ส.ส.สิงหภณ ดีนาง(ทนายกี้) ลงพื้นที่พบปะเยื่ยมเยือนผู้อายุ

วันที่ 11 มี.ค.65 กิจกรรมของส.ส.สิงหภณ ดีนาง(ทนายกี้)ลงพื้นที่พบปะเยื่ยมเยือนผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียง มอบแอลกอฮอล์ นมกล่อง หน้ากากอนามัย เพื่อรณรงค์ต่อต้านโควิ19 ร่วมกับผู้นำชุมชน,อสม.บ้านนาโพธิ์,บ้านกุดชุมแพ,บ้านพรานราษฎร์ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ ครับ

คอนเสิร์ต 8 ทศวรรษ ลูกทุ่ง มุ่งเทิดทูนสถาบัน

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิ.ย.62 ที่ผ่านมามีคอนเสิร์ต 8 ทศวรรษ ลูกทุ่ง มุ่งเทิดทูนสถาบัน จัดโดย อาจารย์ไพจิตร ศุภวารี ได้สำเร็จไปด้วยดี โดยมีคณะนักเรียนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพและโรงเรียนแก่นทองอุปถัมป์ซึ่งได้รับการฝึกซ้อมโดยครูเทียนจิตร​ จันทิพย์และได้รับคำชมจากผู้ชมว่ามีความสวยงามสนุกสนานมากในคืนวันนั้นท่ามกลางฝนที่ตกหนัก

คณะกรรมและที่ปรึกษาสมาคมสมาพันธ์นักข่าว(ประเทศไทย) ลงนามไว้อาลัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ

นางลัลน์ลลิตฤดี​ วิเศษศิริ​ นายกสมาคมสมาพันธ์นักข่าว(ประเทศไทย)​ และ
คณะที่ปรึกษา
ร่วมลงนามไว้อาลัย พล.อ.เปรม
ติณสูลานนท์​ประธาน​องคมนตรี​และ​รัฐบุรุษ​
เมื่อเวลา​๑๓.๐๐น.วันอาทิตย์ที่​ ๒​ มิถุนายน พร้อมด้วยคณะกรรมการเดินทางไปลงนามไว้อาลัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ทำเนียบองคมนตรี ถ.สนามไชย วังสราญรมย์และเดินทางไปรอรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ณ​ ศาลาพระที่นั่งทรงธรรม
วัดเบญจมบพิตร