กาฬสินธุ์ เกษตรกรพลิกผืนไร่นาเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสร้างรายได้งาม

Official aaa replica watches are selling at a low price.You can find quality AAA fake watches here.

Searching for UK duplicate watches that are indistinguishable from the real deal? Go with replicaclone.

Speaking of Omega replica watches, replicaomega is the UK’s top destination, renowned for its dedication to quality and customer satisfaction.

เกษตรกรชาวอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลิกผืนพื้นที่จากการปลูกข้าวและทำไร่อ้อยปรับเปลี่ยนเป็นบ่อทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสร้างรายได้อย่างงาม

วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ที่ฟาร์มกุ้งพ่อจ่อย บ้านโนนภักดี ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ พบกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามกำลังใช้อวนตาข่ายเดินลากดักกุ้งก้ามกราม เพื่อนำออกมาจำหน่ายให้กับลูกค้าที่นิยมชื่นชอบบริโภคในรสชาติของเนื้อกุ้งก้ามกรามที่มีลักษณะแตกต่างจากกุ้งในพื้นที่อื่นๆ เพราะกุ้งกาฬสินธุ์จะมีรดชาติที่หอม หวาน เนื้อแน่น น้ำหนักดี เลี้ยงง่ายโตเร็ว และในพื้นที่จ.กาฬสินธุ์เองนั้น มีเขื่อนลำปาวที่เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่สามารถนำน้ำไปหล่อเลี้ยงเพื่อทำการเกษตร ใช้น้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคได้หลากหลายกิจกรรม ซึ่งปริมาณน้ำที่มีปริมาณที่มากทำให้มีความเพียงพอสำหรับนำไปหล่อเลี้ยงประชากร ครอบคุมในหลายอำเภอและส่งน้ำไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย

นายทรงชัย ภูผาวงศ์ หรือ พ่อจ่อย อายุ 47 ปี เจ้าของฟาร์มกุ้งพ่อจ่อย กล่าวว่า ตนมีพื้นที่ทั้งหมด 16 ไร่ ซึ่งทำการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในปัจจุบัน เดิมนั้นได้ทำการเกษตรด้วยการทำนาปลูกข้าว และทำไร่อ้อยมาได้หลายปี แต่ราคาก็ขึ้นๆลงๆ ยิ่งทำไปยิ่งติดลบขนาดทุน ไม่สามารถนำเงินมาจุนเจือใช้จ่ายในครอบครัวเท่าที่ควร การเงินก็ติดลบ จากนั้นทางเขื่อนลำปาวได้ขยายพื้นที่ทำคลองส่งน้ำบริเวณบ้านโนนภักดี โดยตัดผ่านพื้นที่นาไร่ของตน จึงพูดคุยกับครอบครัวตกลงกันว่าจะลองทำฟาร์มกุ้งก้ามกรามดู โดยเลี้ยงมาประมาณ 5 ปี ตนได้ไปปรึกษาหาความรู้จากผู้ที่เลี้ยงกุ้งในบริเวณนี้อยู่ก่อน จึงได้ทดลองเลี้ยงดูปรากฎว่า จากการลองผิดลองถูกมาหลายปีจนสามารถพลิกผืนไร่นามาทำฟาร์มกุ้งสร้างรายได้อย่างดี

โดยจำหน่ายในราคาหน้าฟาร์มกิโลกรัมละ 250 บาท จะมีพ่อค้าลงพื้นที่มาซื้อที่หน้าฟาร์มเลย ซึ่งจะเลี้ยงกุ้งประมาณ 5-6 เดือนก็สามารถจับขายได้แล้ว กุ้งทั้งหมดที่เราเลี้ยงมีอยู่ 6 บ่อด้วยกัน มีการทำท่อส่งน้ำทั่วถึงกันทั้งหมด ทั้งนี้วันนี้มีลูกค้าที่นิยมมีความชื่นชอบในรสชาติของกุ้งก้ามกรามเขื่อนลำปาวที่สามารถนำไปทำอาหารทั้ง ลวก ทำเป็นต้มยำกุ้ง หรือจะเผา และหลากหลายเมนู สิ่งที่แปลกอีกอย่างหนึ่งกุ้งกาฬสินธุ์จะมีเนื้อที่แน่น มีความหวาน เนื้อหอม ใครที่ได้ลองรับรองว่า ติดใจแน่นอน

อย่างไรก็ตามในพื้นที่บ้านโนนภักดีและในตำบลนาเชือก มีชาวบ้านการทำบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามประมาณ 1,000 ไร่เศษ ที่มีความต้องการอยากให้หน่วยงานทางภาครัฐเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เพื่อที่จะหาป้องกันและดูแลลูกกุ้งในช่วงการเลี้ยงหรือหาตลาดเพื่อสร้างรายได้ในพื้นที่ต่อไปด้วย

ขอนแก่น ‘ทุเรียนคอมมิวนิสต์’ ครูเกษียณ โค่นต้นยางพารา ปลูกทุเรียนหมอนทองแห่งแรกพื้นที่ “ภูโน” ขายดีไม่พอสั่งจอง

All Swiss replica tag-heuer Watches Online Shop. Our shop Tag Heuer replica watches are designed in a similar way to the originals.

For those seeking the finest replica Breitling in the UK, breitling replica is the go-to store for quality and style.

Top Swiss Rolex Replica Watches UK Online Store For Man and Woman

ครูเกษียณ โค่นต้นยางพารา ปลูกทุเรียนหมอนทองแห่งแรกพื้นที่ “ภูโน” เขตพื้นที่การดูแลของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ได้ผลผลิตดี ไม่พอส่งขาย ออเดอร์จองล้น รวมกลุ่มเป็นเกษตรผู้ปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ ก่อนจะตกผลึกใช้ชื่อแหล่งที่มาของทุเรียนว่า  “ทุเรียนคอมมิวนิสต์”

นายวิสิทธิ์ แก้วคำแสน อายุ 65 ปี บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น เผยถึงการปลูกทุเรียนเป็นแห่งแรกของอำเภอกระนวนว่า  “ตนเองรับราชการครูที่โรงเรียนดูนสาด ซึ่งพื้นที่แห่งนี้เมื่อหลายสิบปีก่อนเป็นพื้นที่ของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันได้กลับเข้ามาพัฒนาชาติไทย เป็นเขตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ ขอนแก่น อุดรธานี และกาฬสินธุ์ ก่อนที่จะเกษียณ 2 ปี ได้ปลูกทุเรียนหมอนทองจำนวน 7 ต้น ซึ่งคิดว่ามันเป็นพืชทางเลือกยังไม่มีในท้องถิ่นของเรา ผืนดินแปลงนี้เคยปลูก ไผ่ตง กล้วย มันสำปะหลัง จากนั้นทำการปลูกยางพาราซึ่งได้ผลผลิตดีมาก หลังจากยางพาราหมดอายุ จึงทำการโค่นต้นยางออก และก็มาปลูกทุเรียน ทุเรียนทั้ง 7 ต้นแรก ปลูกแบบล้มลุกคลุกคลาน เพราะยังไม่มีความรู้ในเรื่องการปลูกทุเรียน ต่อมาได้รู้จักวิธีปลูกจากยูทูป ศึกษาเอง ทดลองเอง โดยรู้จักไตรโคเดอร์มา ซึ่งมันเป็นชีวภัณฑ์ เมื่อก่อนจะมีปัญหาเรื่องเชื้อรา ปลูกแล้วมันจะไม่รอด พอฉีดตัวนี้ไป มันก็รอด รอดทั้ง 7 ต้น จากนั้นในปีต่อมาได้ปลูกเพิ่มอีกทุกปี อายุเฉลี่ยกันไป บนเนื้อที่ 8 ไร่ รุ่นสุดท้ายปลูกในปี 2565 ซึ่งมีอายุ 2 ปี ซึ่งมีอัตราการรอดทุกต้น มีจำนวน 100 กว่าต้น

คุณครูกล่าวต่อไปอีกว่า เกี่ยวกับเรื่องผลผลิตนั้น ถือได้ว่าผลผลิตดีมากทำการขายในสวนก็ไม่พอ เนื่องจากเรามีจำนวนน้อย ซึ่งผลผลิตมีคุณภาพ เปลือกบาง เม็ดลีบ เนื้อหวาน ผู้ซื้อไปทานแล้วติดใจ ไม่ได้ยอตนเองนะครับ มีคนอื่นพูดให้ฟัง หลังจากรับประทานเปรียบเทียบจากที่อื่นแล้ว ส่วนเรื่องราคาขึ้นอยู่ท้องตลาดที่มีการซื้อขายตามฤดูกาล

ในมุมมองของตนเห็นว่าทุเรียนเป็นพืชทางเลือกที่ยอดเยี่ยมมาก ถ้าหากทางการมองเห็น มีวิสัยทัศน์ที่จะมาช่วยกลุ่มผู้ปลูกทุเรียนเกษตรแปลงใหญ่ ตำบลดูนสาด ผมว่าจะเป็นหนทางที่จะสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ให้กับประชาชนผู้ปลูกทุเรียนในท้องถิ่นนี้เป็นอย่างดี ซึ่งได้มีเกษตรอำเภอได้ทำการประชุมผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอกระนวน ให้ข้อคิด ให้ความรู้ทางวิชาการ โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่ม คือ “กลุ่มแปลงใหญ่ผู้ปลูกทุเรียนดูนสาด” โดยมีตนเองเป็นประธานกลุ่ม

ในเรื่องของราคาทุเรียนที่กลุ่มเราปลูกนั้น ได้อิงกับราคาท้องตลาด 180-200 บาท ตนก็ขาย 150 บาท เมื่อปีกลาย ในปีนี้จะขายในราคา 170 บาท เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้กระแสไฟฟ้าในการสูบน้ำจากบ่อบาดาล อีกทั้งยังมีการสั่งจองตั้งแต่ทุเรียนยังลูกเล็กเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถตอบสนองออเดอร์เหล่านั้นได้

ทางด้านนายพงศกรณ์ เสาร์ทน คณะทำงานรัฐมนตรี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า กล่าวถึงการลงพื้นที่รับทราบปัญหาของพี่น้องผู้ปลูกทุเรียน ตำบลดูนสาด ว่า “ในการลงพื้นที่เพื่อทราบปัญหาของผู้ปลูกทุเรียนตำบลดูนสาดครั้งนี้ ทราบว่าในพื้นที่เป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง แต่ความแห้งแล้งของพื้นที่ก็ยังแพ้ความสามารถ และแพ้ความพยายามของเกษตรกรเรา จากที่ได้รับรู้รับทราบปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องน้ำ ซึ่งในครั้งนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลลงพื้นที่เพื่อมาทราบและหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านด้วย แต่ปัญหาหลักก็คือพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าสงวน ในภาคของการลงทุน เกษตรกรจะมีผลกระทบในเรื่องของการขอเงินลงทุน หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนค่อนข้างยากและลำบาก ซึ่งทางคณะทำงานจะได้นำเรื่องเสนอต่อ รัฐมนตรี เพื่อปลดพื้นที่จากป่าสงวน เป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อให้พี่น้องได้ทำมาหากินได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกทะเรียนโดยตรง กระทรวงเกษตรฯ จะได้ส่งนักวิชาที่มีองความรู้เข้ามาให้การช่วยเกษตรผู้ปลูกทุเรียนอีกต่อไป

สำหรับกลุ่มแปลงใหญ่ผู้ปลูกทุเรียนดูนสาด มีพื้นที่เพาะปลูก 357 ไร่ เกษตรกร 87 ราย พื้นที่ให้ผลผลิต 58 ไร่ (4-5ปี) สายพันธุ์ทุเรียนที่ปลูก หมอนทอง หลงลับแล ก้านยาว ที่มาของพื้นที่ปลูก เขตพื้นที่ของผู้กลับตัวกลับใจเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย (คอมมิวนิสต์) จึงมีชื่อเรียกว่า “ทุเรียนคอมมิวนิสต์”

ขอนแก่น-เลี้ยงแมงดานาแปรรูปเป็นแจ่วบอง สร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาท

Rolex Submariner replica watches is the hot sale series in Rolex replica.

Top Swiss Rolex replica watches uk Online Store For Man and Women.

Buy 1:1 replica watches uk online at affordable prices.Our replica watches are unique in quality and style. We won’t let you down.

แม่ค้าขายกับข้าวชาวอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น หันมายึดอาชีพเพาะขยายพันธุ์แมงดานาไว้ขายเป็นพ่อและแม่พันธุ์ คู่ละ 100 บาท และส่วนหนึ่งนำไปแปรรูปเป็นแจ่วบองปลาร้าแมงดาขาย มียอดสั่งซื้อจนทำขายไม่ทัน สร้างรายได้หลาย 3-4หมื่นบาทต่อเดือน เผยหลายปีก่อนต้องไปตระเวนหาซื้อแมงดามาเป็นวัตถุดิบในการทำกับข้าวซึ่งมีราคาแพง กระทั้งซื้อมาขังไว้ ก่อนพบแมงดาวางไข่จึงเริ่มเพาะพันธุ์ขายเอง

นที่ 24 เมษายน 2567 ที่ศูนย์เลี้ยงแมงดา ตั๊กแตน แม่ลิน้ำพองขอนแก่น บ้านโนนเชือก ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น นางมะลิ โนนทิง อายุ 64 ปี เจ้าของศูนย์เลี้ยงแมงดาฯ พาผู้สื่อข่าวสำรวจดูแมงดานา กว่า 200 ตัว ที่นำขึ้นมาจากบ่อเลี้ยง หลังจากที่นำมาพักไว้ภายในบ่อที่โครงสร้างทำจากไม้ ล้อมด้วยมุ้งไนล่อน ซึ่งแมงดาจำนวนนี้เป็นแมงดานาตัวผู้และตัวเมีย อายุระหว่าง 5 – 7 เดือน ที่เตรียมไว้ขายให้กับลูกค้าทั้งในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ที่ต้องการนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อ โดยการเพาะเลี้ยงแมงดานานี้ เป็นอาชีพที่นางมะลิ ยึดเป็นอาชีพหลักและเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว มาตั้งแต่ปี 2560

นางมะลิ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ตนเองประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และทำกับข้าวขายตามตลาดนัดคลองถมเป็นอีกอาชีพ แต่หลังจากที่พื้นที่ทำนาถูกน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ และการที่ต้องคอยปั่นจักรยานไปหาตระเวนซื้อแมงดานามาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารไปขาย ซึ่งแมงดานามีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากเคยซื้อในราคา 40 ตัว 10 บาท ก็กลายมาเป็น 2 ตัว 10 บาท จนกระทั้งปี 2558 ราคาเพิ่มเป็น 3 ตัว 20 บาท ในครั้งนั้นตนเองจึงตัดสินใจซื้อแมงดานาที่มาชาวบ้านนำมาขายในตลาดมาไว้มากกว่าปกติ ซึ่งช่วงนั้นแมงดาก็กำลังมีราคาแพง โดยนำมาขังไว้ในกะละมัง ปรากฏว่าวันต่อมาตนเองจะนำเอาแมงดาไปทำอาหาร ก็พบว่า แมงดามีการวางไข่ จึงมีแนวคิดว่าอยากลองเพาะเลี้ยงไว้วัตถุดิบในการทำกับข้าวไปขาย หากได้ผลก็จะไม่ต้องไปซื้อกับคนอื่นอีก จากนั้นจึงได้ทดลองเพาะเลี้ยงแบบลองผิดลองถูก จนกระทั้งสามารถเพาะเลี้ยงแมงดานาได้สำเร็จ โดยวิธีการเลี้ยงและการเตรียมสถานที่เพาะเลี้ยง เริ่มจากการเตรียมบ่อเลี้ยงจะเป็นปูน ผ้าใบ หรือบ่อดินก็ได้ แต่ต้องขุดบ่อให้มีความลึกไม่ต่ำกว่า 30 – 50 ซม. จากนั้นหาพืชน้ำ เช่น ต้นข้าว ต้นกก จอด แหน มาใส่ลงในบ่อ ทำมุ้งครอบเพื่อป้องกันแมงดาบินออก เติมน้ำธรรมชาติลงในบ่อ หากเป็นน้ำประปาให้พักน้ำไว้ 4 – 5 วัน ส่วนอาหารของแมงดา จะเป็นกุ้งขนาดเล็ก ปลาซิว หรือลูกอ๊อด หากได้ตัวที่ยังเป็นๆ อยู่จะดีกว่า ติดสปริงเกอร์เพื่อสร้างความเย็น โดยเปิด 4 – 5 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 30 – 60 นาที งดเว้นการรบกวนจาก คน สัตว์ แสงและเสียง หากแมงดาวางไข่ ให้แยกเอาไข่ออกมารอฟักในบ่ออนุบาล โดยประมาณ 7 วัน ไข่แมงดาก็จะฟักเป็นตัว ก็สามารถเลี้ยงดูแลได้ตามขั้นตอนข้างต้น

นางมะลิ กล่าวว่า ตั้งแต่ตนเองพาครอบครัวหันมายึดอาชีพเลี้ยงแมงดานาขายมาตั้งแต่ประมาณปี 2560 ทำให้ฐานะทางครอบครัวดีขึ้น มีรายได้จากการขายพ่อแม่พันธุ์แมงดา และขายแจ่วบองแมงดา เดือนละประมาณ 30,000 – 40,000บาท ซึ่งปัจจุบันแจ่วบองแมงดาขายดีมาก มีลูกค้าสั่งซื้อจนทำแทบไม่ทัน เนื่องจากแจ่วบองแมงดาสูตรของตนเองมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม โดยปลาร้าที่นำมาทำแจ้วบอง จะเป็นปลาร้าปลาตะเพียนที่หมักไว้อย่างน้อย 2 ปี นำมาโครกเข้ากับสมุนไพร ปรุงรสตามสูตร และที่ขาดไม่ได้คือ แมงดานาที่เป็นส่วนผสมที่ให้กลิ่นที่หอมเย้ายวน เป็นที่ติดอกติดใจของลูกค้า โดยจะนำปลาร้าบองแมงดาที่ทำเสร็จบรรจุใส่กระปุก ขายกระปุกละ 60 บาท และ 100 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊คชื่อ “ศูนย์เลี้ยงแมงดาแม่ลิขอนแก่น เพจจริง” หรือ โทร. 080-  9234525

กาฬสินธุ์ เปิดอาชีพเสริมหน้าแล้งหนุ่มผสมเทียมสัตว์เหมาตัดหญ้าสร้างรายได้

เปิดอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย พบหนุ่มโคบาลชาวตำบลโพนทอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ที่มีอาชีพรับจ้างผสมเทียมสัตว์ วัว ควาย รับเหมาตัดหญ้าหวานสร้างรายได้งาม

วันที่ 17 เมษายน 2567 ที่บริเวณแปลงหญ้าหวาน  ในพื้นที่ ต.โพนทอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พบกลุ่มเกษตรกรจำนวน 2 ครอบครัวที่กำลังขะมักเขม่นใช้มีดตัดหญ้า พร้อมกับปรับแต่งเอาเศษหญ้าหวาแล้วมัดรวมด้วยเชือกฟาง นำขึ้นรถกระบะ 2 คันไว้ เพื่อขนย้ายหญ้าหวานออกไปจำหน่ายที่ร้านริมถนนกาฬสินธุ์สายกาฬสินธุ์ไปยัง อำเภอสมเด็จ บริเวณมอดินแดง ต.โพนทอง อ.เมืองกาฬสินธุ์ใกล้กับ ข้ามคลองชลประทาน

จากการสอบนายสมคิด ภูเด่นแดน อายุ 37 ปี  ชาวบ้านโคกน้ำเกลี้ยง อยู่บ้านเลขที่ 57 หมู่ 10 ต.โพนทอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ บอกว่า ตนพร้อมด้วยครอบครัว ทั้งพ่อตา แม่ยาย ออกมาหารายได้เสริมด้วยการรับจ้างเหมาตัดหญ้าหวานและหญ้าพันธุ์เขื่อน โดยวันนี้ได้ออกมาตัด เพื่อไปจำน่ายจำนวน 6 มัด ขายในราคา 100 บาท ซึ่งพื้นที่แปลงปลูกตัดหญ้านี้ ตนพร้อมครอบครัวได้ตกลงกับเจ้าที่แปลงหญ้า โดยเหมาตัดจำนวน 4 ไร่ด้วยกัน จะเลือกตัดคัดสรรเฉพาะหญ้าที่โตเต็มวัยไม่อ่อนเกินไป ไม่แก่เกินไป เพื่อให้สารอาหารหรือโปรตีนของหญ้าสามารถทำให้สัตว์ที่กินหญ้าหวานหรือหญ้าพันธุ์เขื่อนนี้สามารถหล่อเลี้ยงทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่เพื่อให้สัตว์มีความสมบูรณ์ได้สัดส่วนที่เกษตรกรหรือผู้ที่นิยมชอบเลี้ยงสัตว์จำพวก วัว ควาย แพะ แกะ หรือตั๊กแตนปาทังก้า หรือสัตว์เลี้ยงที่กินหญ้าสามารถใช้เป็นอาหารหลักได้อีกด้วย ทุกท่าน

อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ ต. โพนทอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีเกษตรกรนิยมปลูกหญ้าเพื่อทำการเลี้ยงในด้านปศุสัตว์เป็นจำนวนมากประมาณ 2-3 พันไร่ มีร้านรับซื้อและขายตรงบริเวณมอดินแดงต้องข้ามกับปั้มน้ำมัน ปตท. เรียงรายริมถนนหลายสิบร้านด้วยกัน ซึ่งสามารถสร้างรายงานในช่วงหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี

เลย – เกษตรกรภูเรือวอนช่วยซื้อต้นคริสต์มาสเหตุเศรษฐกิจตกต่ำ

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ศาลาประชาคมบ้านหนองแซง หมู่ 2 บ้านหนองแซง ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย นางอารีรัตน์ ศิริโชติ เกษตรอำเภอภูเรือ เชิญสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกไม้ดอกไม่ประดับแปลงใหญ่ตำบลสานตม และ กลุ่มผู้ปลูกไม้ดอกไม่ประดับแปลงใหญ่ตำบลหนองบัว อ.ภูเรือ กรณีการจำหน่ายต้นคริสต์มาส มีปริมาณหลงเหลือขายไม่ออก เช่นทุกปี โดยมี ปลัดอำเภอประจำตำบลสานตมและตำบลหนองบัวตัวแทนนายอำเภอภูเรือ ปลัดตำบลสานตม ทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดเลย ร่วมหารือ แก้ไข

นางอารีรัตน์ ศิริโชติ เกษตรอำเภอภูเรือกล่าวว่า สำนักงานเกษตรอำเภอภูเรือ ได้รับแจ้งจากเกษตรกรผู้ปลูกคริสต์มาสว่า ในช่วงนี้มีปริมาณต้นคริสต์มาสที่จำหน่ายไม่ได้ เหลือคงค้างในสวนของสมาชิกกลุ่มเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก กลุ่มลูกค้าเก่าที่เป็นหน่วยงานเอกชน ห้างร้าน และลูกค้าทั่วไป ลดจำนวนการสั่งซื้อตามสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และหน่วยงานราชการ ติดเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ไม่สามารถจัดงบประมาณมาซื้อไปตบแต่งสถานที่ทำงาน และจัดสังสรรค์ ช่วงเทศกาลคริสต์มาส เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เหมือนเช่นทุกปี จึงชะลอการจัดกิจกรรมเทศกาลและการประดับตกแต่งอาคารสถานที่ราชการต่างๆ ประกอบกับ ต้นคริสต์มาสเป็นพืชที่มีความสวยงามเฉพาะช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน – มีนาคม) จึงจำเป็นต้องเร่งจำหน่ายให้ทัน โดยมีต้นคริสต์มาสสีแดงคงเหลือประมาณ 275,000 ต้น ต้นคริสต์มาสสีชมพูคงเหลือ 310,000 ต้น

โดยที่ประชุมสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอำเภอภูเรือ ทำหนังสือประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานราชการ หอการค้าจังหวัดเลย ช่วยอนุเคราะห์รับไปตบแต่งสำนักงาน หน่วยงาน ร้านค้าละ 1,000 บาท ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเลยทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานทั่วประเทศช่วยรับซื้อ นอกจากนี้ยังเกษตรอำเภอภูเรือยังประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า เมื่อซื้อต้นคริสต์มาสไปแล้ว เมื่อหมดเทศกาล ต้นคริสต์มาสหมดช่วงฤดูหนาวแล้ว จะเปลี่ยนสีใบเป็นสีเขียว ท่านสามารถนำลงดินตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มไม่สูงมากนัก พอเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวในปีต่อไป ใบก็จะกลับมาเปลี่ยนเป้นสีแดงเหมือนเดิม และสามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ท่านใดสนใจช่วยเหลือเกษตรกรสามารถติดต่อสั่งจองต้นคริสต์มาสอำเภอภูเรือสั่งซื้อได้ที่
นางเสถียร ธัญญารักษ์ 065-089-8129 (ประธานแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับ ตำบลสานตม), นางณัฐริกา ศรีสวัสดิ์ 089-570-4508 (ประธานแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับ ตำบลหนองบัว) ,นายเมธาสิทธิ์ ปาทำมา 089-526-4291 (ผู้ใหญ่บ้านหนองแซง หมู่ที่ 2 ตำบลสานตม) หรือที่เกษตรกรสวนคริสต์มาส 1. สวนป้าแป๋ว 0807629261, 2. สวนเฟิร์นคริสต์มาส0847983812, 3.สวนน้องบอม 0818711770, 4. สวนป้าน้อย 0928351573, 5. สวนป้าวรรณ 0879491259, 6. สวนแม่น้องมินท์ 0898408725, 7. สวนระพินคริสมาส 0807491449

ขอนแก่น – นักวิจัย มข.พบ “บึ้งประกายสายฟ้า” ชนิดใหม่ของโลก

อ.ดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมนักวิจัย ลงพื้นที่สำรวจพบ “บึ้งประกายสายฟ้า” ชนิดใหม่ของโลก สวยระดับอัญมณีแห่งป่า  ทั้งยังเป็นบึ้งชนิดแรกของไทยที่พบในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน

ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยของ อาจรยร์ดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นายชวลิต ส่งแสงโชติ นายปฏิภาณ ศรีรานันท์ และนายปวีณ ปิยะตระกูลชัย ร่วมกับ โจโฉ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาวิจัยนำมาสู่การค้นพบบึ้งที่สวยและดึงดูดความสนใจชนิดใหม่ของโลก คือ “บึ้งประกายสายฟ้า” ภาษาอังกฤษเรียกว่า 𝑪𝒉𝒊𝒍𝒐𝒃𝒓𝒂𝒄𝒉𝒚𝒔 𝒏𝒂𝒕𝒂𝒏𝒊𝒄𝒉𝒂𝒓𝒖𝒎

ดร.นรินทร์ กล่าวว่า จากการศึกษาและสำรวจทีมวิจัยที่ จ.พังงา ในพื้นที่ป่าชายเลนไปจนถึงป่าไม้ผลัดใบในพื้นที่เนินเขา ส่งผลให้ทีมวิจัยค้นพบ “บึ้งประกายสายฟ้า”  ซึ่งถือได้ว่าเป็นบึ้งชนิดแรกของไทยที่พบในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน โดยบึ้งชนิดนี้จัดอยู่ในสกุล 𝑪𝒉𝒊𝒍𝒐𝒃𝒓𝒂𝒄𝒉𝒚𝒔 ในวงศ์ย่อย Selenocosminae

“ความยากของการสำรวจบึ้งตัวนี้ คือ การอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงในป่าชายเลน ทั้งยังอยู่ในโพรงต้นไม้ลึกและซับซ้อน ทำให้จับลำบากมาก วันที่สำรวจเราพบตัวอย่างเพียง 2 ตัวเท่านั้น หลังจากนั้นจึงไปพบเพิ่มเติมในพื้นป่าที่สูงขึ้นและพบว่ามันอาศัยได้ทั้งในดินและบนต้นไม้”

สำหรับที่มาของชื่อ “บึ้งประกายสายฟ้า” มาจากชื่อทั่วไปภาษาอังกฤษว่า “Electric-blue tarantula”   ซึ่งเป็นลักษณะสีของบึ้งที่เมื่อสะท้อนกับแสงไฟแล้วมีประกายสีน้ำเงินคล้ายกับสีของ สายฟ้าสีน้ำเงิน  ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วสีน้ำเงินนับเป็นสีที่หายากในธรรมชาติ อันเนื่องมาจากสีน้ำเงินเป็นสีที่มีพลังงานสูง แต่ความลับของ “บึ้งประกายสายฟ้า” คือ สีน้ำเงินที่เป็นประกายงดงามสลับกันบริเวณขาเกิดจากโครงสร้างระดับนาโนของเส้นขนบึ้ง ซึ่งมาจากการหักเหของแสงทำให้แสงสะท้อนพลังงานที่ในช่วงความถี่ ของแสงสีน้ำเงิน โดยไม่ได้เกิดจากกลไกที่รงควัตถุดูดซับพลังงานเหมือนกับการเกิดสีของพืชหรือสัตว์ ในธรรมชาติโดยทั่วไป

ไม่เพียงเท่านั้น “บึ้งประกายสายฟ้า” ยังปรากฏสีม่วงในบางส่วนของร่างกายด้วย ซึ่งสีม่วงเป็นสีที่มีพลังงานมากกว่าสีน้ำเงินและมีช่วงในสเปกตรัมแสงที่แคบมาก นับเป็นสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของบึ้งชนิดนี้ได้ตั้งชื่อว่า 𝑪𝒉𝒊𝒍𝒐𝒃𝒓𝒂𝒄𝒉𝒚𝒔 𝒏𝒂𝒕𝒂𝒏𝒊𝒄𝒉𝒂𝒓𝒖𝒎  เพื่อเป็นเกียรติกับ คุณณฐกร แจ้งเร็ว และคุณนิชดา แจ้งเร็ว ผู้บริหารกลุ่มบริษัทนิชดาธานี ซึ่งเป็นผู้ประมูล เพื่อนำรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายในการสมทบทุนบริจาคช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนทางการศึกษาบนดอยในโรงเรียนบ้านมูเซอและผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ยากไร้

“บึ้งชนิดนี้นอกจากเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์แล้วยังช่วยต่อลมหายใจของผู้คนและหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กที่ห่างไกลความเจริญอีกด้วย”

ทั้งนี้ “บึ้งประกายสายฟ้า” นั้น ถูกนำมาเลี้ยงในกลุ่มคนนิยมเลี้ยงบึ้งมาก่อนแล้ว โดยก่อนหน้านี้มีชื่อว่า Chilobrachys sp Electric-blue โดยยังไม่มีใครจัดจำแนกและบรรยายลักษณะ รวมถึงการสำรวจว่า บึ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ที่ไหน หรือใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบแล้วทำให้ได้รู้ว่าเป็นบึ้งชนิดใหม่ จึงได้มีการศึกษาวิจัยก่อนที่งานวิจัยจะถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยนานาชาติ Zookeys เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา (https://doi.org/10.3897/zookeys.1180.106278)

นอกจากนี้ ดร.นรินทร์ ยังระบุว่า บึ้งในสกุลนี้มีรายงานการพบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิดเท่านั้น “บึ้งประกายสายฟ้า” ถือได้ว่าเป็นชนิดที่ 3 จากการค้นพบในไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 27 ปีที่แล้ว แต่ชนิดที่พบในอดีตไม่ปรากฏความแวววาวของสีที่เป็นประกายเหมือนกับ “บึ้งประกายสายฟ้า” นับเป็นบึ้งที่มีความพิเศษลักษณะสวยงามและยังพบได้ในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงควรหาแนวทางอนุรักษ์พื้นที่ป่า ให้บึ้งที่พบในป่าชายเลนตัวแรกและตัวเดียวของประเทศไทยในตอนนี้ ยังคงอยู่เป็นอัญมณีแห่งผืนป่าต่อไปในอนาคต

ข่าว : ผานิต ฆาตนาค   ภาพ : ดร.นรินทร์ ชมภูพวง, ยุรนันท์ นานไธสง และทีมวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอนแก่น ปรากฎการณ์เอลนีโญ่ ‘แล้งรุนแรง’ นาข้าวขาดน้ำแห้งตาย

จังหวัดขอนแก่น กำลังประสบวิกฤติภัยแล้งรุนแรง จากปรากฎการณ์เอลนีโญ่ ทำให้ฝนทิ้งช่วง นาข้าวเริ่มขาดน้ำและแห้งตาย

นายพิลา การิน ชาวนาบ้านหนองหอย ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น  ต้องนำเครื่องตัดหญ้ามาตัดต้นข้าวในนากว่า 3 ไร่ เพื่อรอฝนที่จะตกลงมาเติมน้ำในนา ต้นข้าวที่ตัดไว้ถึงจะงอกและเติบโต หลังจากที่ได้ปักดำต้นกล้ามาเดือนกว่า แต่ต้องประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วง ไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ ทำให้น้ำในนาเริ่มแห้งขอด ต้นข้าวขาดน้ำเริ่มแห้งตายบางส่วน หากไม่มีฝนตกลงมาอีกในหนึ่งสัปดาห์ คาดว่าผลผลิตจะเสียหายทั้งหมด

 นายกองโทพิชัย วันตา นายอำเภอหนองเรือ กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้คาดว่าจะรุนแรง จากปรากฎการณ์เอลนีโญ่ นาข้าวหลายพื้นที่เริ่มขาดน้ำและแห้งตาย ลำห้วย ลำน้ำสาขา ก็แห้งขอด เพราะไม่มีน้ำฝนมาเติม และเกษตรกรก็สูบน้ำไปช่วยเลี้ยงต้นข้าวในนา  ขณะนี้ได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านในพื้นที่เร่งสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ตามลำน้ำสำคัญ จำนวน 3 ตัว ในพื้นที่ 3 ตำบล เพื่อกักเก็บน้ำฝนสำรองน้ำไว้ใช้ในปีนี้ และเป็นน้ำต้นทุนไว้ใช้ในปีหน้า

ด้านนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการเพื่อติดตามสถาการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น  โดยที่เขื่อนอุบลรัตน์ ขณะนี้มีปริมาณกักเก็บอยู่ที่ 870 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 36 ของความจุอ่าง ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กทั้ง 14 แห่ง ปริมาณกักเก็บถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และจากการณ์คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดเดือนกันยายน 2566 จะมีฝนตกเพียง 18 วันเท่านั้น และปรากฎการณ์เอลนีโญ่จะยาวนานจนถึงกลางปี 2567 หากไม่มีฝนมาเติมน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จะส่งผลกระทบอย่างแน่นนอนกับประชาชนทุกภาคส่วน ถึงขั้นวิกฤติที่ต้องนำน้ำก้นอ่างมาใช้ผลิตน้ำปะปา จึงสั่งการให้ทุกอำเภอเร่งทำฝายแกนดินซีเมนต์ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อบรรเทาภัยแล้ง

ร้อยเอ็ด – “เข้าใจบทบาท” สภาเกษตรกรภาคอีสาน จัดอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด

ที่ห้องประชุมชั้น 1 โรงแรมเอ็มแกรนด์ อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด นายชูศักดิ์ ราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด เพื่อสร้างความเข้าใจตามพระราชบัญญัติ สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และรับรู้การเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประเภทตัวแทนองค์กรเกษตรกร และเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2566

โดยมี ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล สมาชิกวุฒิสภา ดร.ประจักร์ บุญกาพิมพ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

ดร.ประจักร์ บุญกาพิมพ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตามที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศ ได้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ประเภทผู้แทน และเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และปัจจุบันได้ประกาศรายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดชุดใหม่เป็นที่เรียบร้อย ทำให้องค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ชุดใหม่นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจบทบาท และอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ให้สามารถพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กร

ดังนั้น สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้เป็นเจ้าภาพจัดการอบรมโครงการดังกล่าวฯ ขึ้น โดยมีผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สกลนคร ยโสธร มหาสารคาม รวม 100 คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกสภาฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรต่อไป

ที่มา : https://www.esandailyonline.com/

เตรียมรับซื้อใบกระท่อมสมาชิก เพื่อการส่งออก ตามโครงการ “กระท่อมฟาร์มมิ่งไทย”

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ทีมงาน ชุดปฏิบัติการ(พิเศษ)ตามแนวศาสตรแห่งพระราชาอนันตรลักษณมงคลแผ่นดิน “ครั้งหนึ่งในชีวิตทำดีเพื่อแผ่นดิน” นำโดย ดร.ธนันท์รัฐ เจริญ นายกสมาคมคนไทยใจรักแผ่นดิน พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม แปลงปลูก พืชกระท่อมของสมาชิกภายในจังหวัดนนทบุรี/ปทุมธานี และพาผู้ซื้อ กระท่อม จากประเทศ เยี่ยมชมแปลงปลูกพืช กระท่อม ที่เป็นสมาชิกของ โครงการ กระท่อมฟาร์มมิ่งไทย ซึ่งมีเกษตรกรที่ทาง โครงการฯได้ส่งเสริมให้ปลูก พืชกระท่อม ไว้จำนวนกว่า2,000,000ต้น

ทั้งนี้ ดร.ธนันท์รัฐ เจริญเธียร นายกสมาคมคนไทยใจรักแผ่นดิน ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าว ว่า ตอน นี้ ค่อนข้างชัดเจนว่า การส่งออกพืชกระท่อมชนิด ตากแห้ง อบ บด นั้นจะเริ่มส่งออกขายไปยังต่างประเทศ ภายในเดือนสิงหาคม 2566 นี้อย่างแน่นอน และใน2566นี้ จะต้องทำการส่งใบกระท่อมแห่งชนิด อบบดแห้ง จำนวน ไม่ต่ำกว่า225,000 ตัน ล้อตแรก จะส่งได้อยู่ ประมานจำนวน 150 ตัน จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทั่วทุกภูมิภาค ทราบว่า ข้อเท็จจริง กระท่อม ที่จะขายได้นั้น ต้องมีอายุการปลูกมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี นับจากวันที่ปลูกลงดิน จึงจะได้ค่าของสารไมทราเจนีน ตามที่ต้องการ

แต่เนื่องจาก โครงการ ได้ส่งกระท่อม ที่มีอายุการปลูก 1 ปี/ครึ่ง ขึ้นเข้าตรวจใน แล็ปที่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ ปรากฏค่าของสารไมทราเจนีน เป็นที่ต้องการของตลาดผู้ซื้อต่างประเทศ ในการรับซื้อ กระท่อม อบ /บดแห้ง ผู้ซื้อจะซื้อตามค่าของสาร ฯ เริ่ม 1.4 % ถึง 5.2 % โดยราคา เริ่มซื้อที่ 6- 16 ยูเอส ซึ่งจะประกาศให้ชมทางเวฟไซน์ ที่จะเปิดในต่างประเทศ เร็วๆนี้

ขอให้เกษตรกรวางใจและมั่นใจ และขอให้เกษตรกรปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไข กฏหมาย กระท่อมซึ่งทางคณะกรรมการโครงการฯได้ประสานไปยังหน่วยงานส่วนราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เตรียมการส่งออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันค่าของสารไมทราเจนีน ในกระท่อม ของไทยเรานั้น มีค่าสูงกว่าประเทศอินโด ทางโครงการฯ เราจะทำการซื้อใบกระท่อม สด แห้ง ในราคาตามค่าสาร ไมทราเจนีน ขนะนี้เราเริ่มรวบรวมซื้อบ้างแล้ว หากเกษตรกรที่ปลูกกระท่อม ไว้แล้วมีอายุ 1 ปีครึ่งขึ้นไปสามารถ เก็บมาขายได้ ในเขต จ. ปทุมธานี/นนทบุรี/อยุธยา/ สระบุรี/สมุทรปราการ หรือบริเวณไกล้เคียง ระยะทางไม่เกิน 30 กม. รับซื้อหน้าสวน ใบสด หากไกลกว่านี้ ต้องตากรวมเป็นใบแห้ง รับซื้อทุกสายพันธ์

ทางโครงการขอประกาศให้เกษตรกรได้รับรู้โดยทั่วกัน ว่า การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ผลิตจากใบ กระท่อม นั้นรัฐบาลยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้ทำ มีเพียงโรง อบ/บด เท่านั้น แต่หากในอีก 5 ปีข้างหน้าอาจทำได้ และขอย้ำอีกว่า กระท่อมฟร์ามมิ่งไทย ขาย ส่งออก ใบแห้ง อบบด เท่านั้น ขอให้เกษตรกรติดต่อเราโดยตรง เราจะถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อความปลอดภัยของทุกคนให้ทราบ ขอให้เกษตรกรผู้ปลูก พืชกระท่อม ใจเย็นๆอย่าไปตัดทิ้ง ขายได้แน่นอน หากทำตามเงื่อนไขของเรา กระท่อม เป็นพืชมหามงคล มีอายุยืนนาน 130ปี ปลูกให้เป็นมรดกลูกหลาน สมานฉันท์คนในครอบครัว โปรดติดต่อขายให้เรา เจ้าแรกเจ้าเดียวไม่มีสาขา สอบถาม 082-658-5164

กาฬสินธุ์ – กอ.รมน.ฮึ่มล้อมคอกป้องกันนายทุนหลอกชาวบ้านกู้เงินเลี้ยงหมู

กอ.รมน.ฮึ่มล้อมคอกป้องกันนายทุนหลอกชาวบ้านกู้เงินเลี้ยงหมู กอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์ ฮึ่ม นายทุนต้องอุ้มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูให้ตลอดรอดฝั่ง ย้ำอย่าหลอกชาวบ้านและผลักภาระหนี้สินให้ชาวบ้านมากเกินไป ด้านผู้จัดการ ธกส.สาขาสหัสขันธ์ เผยจากการป้องปรามของทุกฝ่าย เชื่อธุรกิจเลี้ยงหมูไปต่อได้ หากประสบปัญหาเตรียมแผนรองรับปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตร

จากกรณีชาวบ้านใน ต.สหัสขันธ์ และต.นามะเขือ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ได้รับความเดือดร้อนสาหัส จากกลิ่นเหม็นของขี้หมู ที่โชยออกมาจากฟาร์มเลี้ยงหมูเอกชน 16 ฟาร์ม ส่งผลให้สุขภาพจิตเสีย ปวดหัวปวดประสาทและเจ็บป่วยด้วยโรคทางลมหายใจ เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรีบแก้ไข มีการติดตามผลเป็นระยะ พร้อมเรียกร้องนายทุนใช้หลักเมตตาธรรมช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู เนื่องจากเกษตรผู้เลี้ยงหมู 8 รายแบกรับภาระหนี้รายละกว่า 6 ล้านบาท รวมกว่า 50 ล้านบาทตามข่าวที่เสนอแล้วนั้น

ล่าสุด วันที่ 17 มิถุนายน 2566 มีรายงานว่า ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์ เป็นประธานประชุมการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนเหตุเดือดร้อนรำคาญ กรณีประชาชนได้รับความเดือดร้อนทางกลิ่น จากฟาร์มเลี้ยงหมู ในเขต ต.นามะเขือ และต.สหัสขันธ์ โดยมี พ.ท.สุรพร ฮูมเปือย หัวหน้ากลุ่มประสานงาน กอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ท.วิศิษศักดิ์ ภูกิ่งเพชร หัวหน้าฝ่ายกิจการมวลชน กอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์ ร.ท.วิทยา เทพจันทร์ รองหัวหน้าฝ่ายประสานความมั่นคง กอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์ นายประดิษฐ สุดชาดา ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์ นายสุระเดช วงษ์ศรีทา ผู้จัดการ ธกส.สาขาสหัสขันธ์ นายชุมพล แสบงบาล สาธารณสุข อ.สหัสขันธ์ พร้อมด้วยปศุสัตว์ อ.สหัสขันธ์ ตัวแทนบริษัทที่เข้ามาส่งเสริมเลี้ยงหมู ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และชาวบ้าน ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามผลการแก้ปัญหาข้อร้องเรียน กรณีชาวบ้านใน ต.นามะเขือ และต.สหัสขันธ์ ได้รับความเดือดร้อนจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งมีสาเหตุจากฟาร์มเลี้ยงหมูเอกชน 16 ฟาร์ม หลังจากที่มีการประชุมไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 23 พ.ค.66 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าการแก้ไขปัญหามีความคืบหน้าไปมาก โดยในช่วงนี้อยู่ระหว่างทยอยจับหมูจำหน่าย และจะเริ่มลงมือจัดทำบ่อบำบัดที่ได้มาตรฐานทันทีที่จำหน่ายหมูออกหมด
ด้าน พ.ท.สุรพร ฮูมเปือย หัวหน้ากลุ่มประสานงาน กอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัญหาข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากทางบริษัทที่เข้ามาส่งเสริมและผู้ประกอบการทำกันเอง ในลักษณะไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมา พอเกิดปัญหาแล้วก็ส่งผลกระทบถึงสังคมรอบด้าน ผู้หลักผู้ใหญ่ในจังหวัดก็เป็นห่วง จึงอยากให้ทางบริษัทรีบเร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้น

รวมทั้งประคับประคองให้เกษตรกรที่เลี้ยงหมู สามารถประกอบธุรกิจไปได้ อย่าหลอกให้ชาวบ้านลงทุนและแบกรับหนี้สินฝ่ายเดียว ไม่อยากให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อพื้นที่และบริษัทเอง เพราะจริงๆแล้ว ทางบริษัทต้องรู้ว่าปัญหาอะไรจะเกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงหมู หากระบบการบริหารจัดการในฟาร์มไม่ได้มาตรฐาน แล้วทำไมปล่อยให้เกิดปัญหา และทุกฝ่ายต้องมาเหนื่อยในการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างนี้

ด้านนายสุระเดช วงษ์ศรีทา ผู้จัดการ ธกส.สาขาสหัสขันธ์ กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อเงินกู้เกษตรกรเลี้ยงหมู 8 รายก้อนแรก จ่ายไปครบแล้วโดยแบ่งจ่ายรายละ 4 งวด รวมประมาณ 50 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของการกู้เพิ่มเพื่อทำบ่อบำบัด อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นกู้ ซึ่งแต่ละรายอาจจะได้ไม่เท่ากัน รายละประมาณ 4 แสนบาท หรือตามสภาพพื้นที่ อย่างไรก็ตาม จากการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหา และหลายๆภาคส่วนมาร่วมประชุม เพื่อให้ธุรกิจการเลี้ยงหมูดำเนินต่อไป ตนเชื่อว่าคงจะไปต่อได้ หรือหากมีเหตุปัจจัย ที่ไม่สามารถไปต่อได้ ทางธกส.ก็มีแผนรองรับ โดยจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้

ที่มา : https://www.esandailyonline.com/